วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558

การดูแลระบบการ พิมพ์บาร์โค้ด

เรื่องของบุคลากรเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก ในการดูแลระบบการ พิมพ์บาร์โค้ด อันที่จริงไม่ใช่ระบบของการพิมพ์บาร์โค้ดเท่านั้น แต่คงจะเป็นทุกเรื่อง ที่เราจะต้องดำเนินไปในธุรกิจ ดำเนินไปในองค์กรของเรา สิ่งที่เจ้าของระบบบาร์โค้ดมักจะเข้าใจผิดเกี่ยวกับระบบการลงบาร์โค้ด หรือแม้แต่จะเป็นระบบ IT อื่นๆ รวมถึงขั้นตอนในการพิมพ์บาร์โค้ดส่วนมากแล้ว ล้วนเป็นเรื่องของบุคคลทั้งสิ้น และความเข้าใจผิดเหล่านั้นมีอยู่มากมายหลายประการ

ประการแรก เจ้าของระบบมักจะไม่ลงทุนในคน เพราะคิดว่าลงทุนในอุปกรณ์ลงทุนในระบบไปมากพอแล้ว เรื่องของการพิมพ์บาร์โค้ด หรือการทำระบบ IT นั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดไม่ใช่เรื่องของวัสดุอุปกรณ์ หรือเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัย หรือ software version ล่าสุด ใช้ของแท้ของจริงแต่อย่างใด สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ “คน” ที่จะมาดูแลระบบเหล่านี้ต่างหาก จริงหรือไม่อย่างไร คงจะได้เห็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด จากระบบบาร์โค้ดนี้ก็เป็นได้ ดูตัวอย่างเอาจากตัวระบบง่ายๆคือขั้นตอนของการพิมพ์บาร์โค้ดเอานี่เอง ก็ได้ อาทิเช่นว่า หากเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดของคุณมีปัญหา คุณมีทางเลือกที่จะทำอย่างไร คุณก็ต้องหาทางซ่อมเครื่องนั้นให้เร็วที่สุด และคุณจะทำอย่างไรที่จะทำให้เครื่องพิมพ์บาร์โค้ดของคุณได้รับการซ่อมแซมได้อย่างรวดเร็วที่สุด ข้อแรก คุณจะโทรศัพท์หาช่างที่รู้จักเข้ามาซ่อม และรอให้ช่างว่างเข้ามาซ่อมเครื่องให้คุณ หรือข้อสอง คุณจะโทรหาตัวแทนจำหน่ายเครื่องนั้น เพื่อนัดเวลาเข้ามาซ่อม และรออะไหล่ของแท้มา หรือข้อสุดท้าย คุณจะโทรหาแผนก ซ่อมแซม maintenance ในบริษัท ในโรงงาน ในองค์กรของคุณเอง ให้เขาเดินมาซ่อมมาดูอาการ ถ้าเครื่องของคุณพิมพ์บาร์โค้ด ไม่ออก แน่นอนถ้าเป็นไปได้ เจ้าของกิจการ หรือหัวหน้าแผนกก็อยากจะได้ข้อสามแน่นอน แต่สิ่งที่แปลกก็คือ มีเจ้าของกิจการจำนวนไม่น้อย ที่ไม่ยอมลงทุนอีกเล็กน้อย ส่งพนักงานคนในของตนไปเรียนรู้สิ่งเหล่านี้ เพื่อมาซ่อมมาดูแลเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เวลาที่มีปัญหาเพราะคิดว่าลงทุนระบบไปมากแล้ว กรณีนี้ หากเกิดขึ้นกับหัวหน้าแผนกก็เป็นเรื่องที่น่าสงสาร ที่เจ้าของกิจการไม่มีวิสัยทัศน์เพียงพอ สักแต่มีเงินและก็ทำแต่ระบบ ไม่ดูเองคน ตัวหัวหน้าแผนกเองก็เข้าใจสถานการณ์ และอยากจะมีคนที่มีความรู้ ความสามารถทางด้านเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดเอาไว้ใช้สอย แต่ทำไม่ได้ เพราะไม่ใช่เจ้าของ และไม่ใช่คนที่มีอำนาจตัดสินใจ ยื่นเรื่องขึ้นไปก็เงียบไม่มีเสียงตอบรับมา อาจเพราะหัวหน้าอยากจะได้ผลงานโดยการประหยัดงบประมาณ ไม่ต้องการจ้างคนเพิ่ม อยากจะมีผลงาน อย่างนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าเศร้าที่มักเกิดกับระบบไอที ทั้งหลายไม่เฉพาะแต่ระบบการพิมพ์บาร์โค้ดเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น